มารบ่มีบารมีบ่เกิด sin satanás no habrá carisma

มารบ่มีบารมีบ่เกิด sin satanás no habrá carisma

พระคาถาเยธัมมา - หัวใจพระพุทธศาสนา El discurso Yhedhamma (el corazón del budismo)

เยธัมมา เหตุปัปภวา(ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ)Cualquier cosa tiene su causa เตสัง เหตุ ตถาคโต(พระตถาคตเจ้า ตรัสเหตุของธรรมเหล่านั้น)Buda habla sobre la causa de aguella cosa เตสัญจะโย นิโร โธจะ(และความดับของธรรมเหล่านั้น) y la extinción de aquella cosa เอวังวาที มหาสมโณติ(พระมหาสมณะ มีวาทะตรัสไว้ดังนี้) Así fué lo que dijo Buda

วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552


Relación entre el cuerpo y la mente

ความสัมพันธ์ระหว่างกายและจิต

La relación entre el cuerpo y la mente se expone con detalle en las enseñanzas tántricas de Buda. Se trata de una relación entre dos entidades distintas que están asociadas durante la vida, pero que también pueden existir por separado.

ความสัมพันธ์ระหว่างกายและจิตได้มีการอธิบายอย่างละเอียดในคำสอนของพระพุทธองค์ในนิกายตันตระ.หมายถึงความสัมพันธ์อย่างหนึ่งระหว่างลักษณะเฉพาะสองชนิดที่แตกต่างกันที่อยู่ร่วมกันตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่,แต่ก็สามารถที่จะอยู่แยกกันได้.

Buda comparó la mente con un pájaro y el cuerpo con un nido. Al igual que un pájaro abandona un nido para volar a otro, en el momento de la muerte, la mente también abandona el cuerpo para buscar otro. También se puede decir que el cuerpo y la mente son como un coche y su conductor, cuyos movimientos están relacionados, pero cuya naturaleza, evidentemente, no es la misma.

พระพุทธองค์ทรงเปรียบจิตเสมือนนกและกายเสมือนรัง.เหมือนกับนกทิ้งรังเพื่อบินไปสู่รังใหม่,ในชั่วขณะแห่งความตาย,จิตก็ละทิ้งกายเพื่อไปหากายใหม่เช่นกัน. เช่นเดียวกันสามารถกล่าวได้ว่ากายและจิตเป็นเหมือนรถยนต์และคนขับ,ซึ่งมีความเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กัน,แต่โดยที่ธรรมชาติ,ไม่ใช่สิ่งเดียวกันอย่างแน่นอน.

El cuerpo y la mente están relacionados por medio de aires de energía internos. Se dice que cada mente «monta» sobre un aire de energía que le proporciona la capacidad de moverse hacia su objeto. Los aires fluyen por canales de energía sutiles que pueden ser percibidos por algunos meditadores. Estos aires internos sirven de conexión entre la mente, que no tiene forma, y el cuerpo físico.

กายและจิตสัมพันธ์กันโดยผ่านทางอากาศธาตุแห่งพลังงานภายใน.ว่ากันว่าทุกๆจิต(ตั้งอยู่)บนอากาศธาตุแห่งพลังงานที่แบ่งสันปันส่วนความสามรถให้มันเคลื่อนไหวตัวเองสู่สิ่งที่หมาย.อากาศธาตุทั้งหลายจะไหลไปตามสายธารแห่งพลังงานที่ละเอียดอ่อนซึ่งสามารถรับรู้ได้โดยนักวิปัสสนากรรมฐานบางคน.อากาศธาตุภายในจะทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างจิต,ที่ไม่มีรูป,กับร่างกาย.

Paz interior

ความสงบภายใน

Cuando las circunstancias son desfavorables y nos encontramos con dificultades, solemos pensar que la situación en sí misma es la causa de nuestros problemas, pero en realidad estos tienen su origen en la mente.

ยามใดที่สถานการณ์ไม่เป็นใจ และ เราประสบกับความยุ่งยากทั้งหลายแหล่, เรามักจะคิดว่าสภาพการณ์เช่นนี้คือเหตุแห่งปัญหาของเรา, แต่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากจิต.

Si respondiésemos ante las dificultades con una mente pacífica, no nos causarían problemas, sino que las consideraríamos como oportunidades para progresar en nuestro desarrollo personal. Los problemas sólo aparecen cuando no sabemos reaccionar de manera constructiva ante las dificultades.

ถ้าเราสนองตอบต่อความยุ่งยากเหล่านี้ด้วยจิตที่สงบ, มันก็จะไม่สร้างปัญหาให้กับเรา, หากแต่เรายังควรจะพิจารณาว่าเป็นโอกาสเพื่อการพัฒนาตนเอง. ปัญหาทั้งหลายแหล่จะปรากฏเฉพาะยามเมื่อเราไม่รู้จักการตอบสนองต่อความยุ่งยากทั้งหลายด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์.

Por lo tanto, si deseamos transformar nuestra vida y liberarnos de los problemas, debemos aprender a dominar nuestra mente. Los sufrimientos, los conflictos, las preocupaciones, la infelicidad y el dolor sólo existen en la mente, no son más que sensaciones desagradables que forman parte de ella.

ทั้งหลายทั้งปวง, ถ้าเราปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของเรา และเป็นอิสระจากปัญหาทั้งหลายแหล่, เราจะต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมจิตของเรา, ความทุกข์, ความขัดแย้ง, ความกังวนใจทั้งหลาย, ความไร้สุข และ ความเจ็บปวด จะมีอยู่ในจิตเท่านั้น, มันเป็นเพียงความรู้สึกที่ไม่น่าอภิรมย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของจิต.

Si controlamos y purificamos nuestra mente, podrémos eliminarlas por completo.

ถ้าเราควบคุมและทำจิตของเราให้ผ่องแผ้ว, เราก็จะสามรถขจัดสิ่งเหล่านี้ออกไปได้อย่างสมบูรณ์



Paz mundial ความสงบของโลก

La calidad de nuestra vida no sólo depende del progreso material, sino también de que cultivemos paz y felicidad en nuestro interior.

คุณภาพชีวิตของเราไม่ใช่ขึ้นอยู่แต่เพียงความเจริญทางด้านวัตถุ,หากแต่ยังขึ้นอยู่กับว่าเราปลูกฝังความสงบและความสุขภายในของเรา

Por ejemplo, en el pasado numerosos budistas vivían en países pobres y, a pesar de ello, disfrutaban de felicidad pura y duradera porque practicaban las enseñanzas de Buda.

ยกตัวอย่างเช่น, ในอดีตชาวพุทธมากมายอาศัยอยู่ในประเทศที่ยากจนและ,ถึงกระนั้นก็ตาม,พวกเขาก็ยังดื่มด่ำความสุขที่บริสุทธิ์และยั่งยืน เนื่องจากว่าพวกเขาปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า.

Si integramos las enseñanzas de Buda en nuestra vida diaria, podemos resolver nuestros problemas internos y disfrutar de verdadera serenidad. Sin paz interior, la paz externa es imposible.

ถ้าเราปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างสมบูรณ์ในชีวิตประจำวันของเรา, เราจะสามารถแก้ไขปัญหาภายในทั้งหลายแหล่ของเราได้ และดื่มด่ำความสงบอย่างแท้จริง. ไร้ซึ่งความสงบภายใน, ความสงบภายนอกย่อมเป็นไปไม่ได้เลย.

Si establecemos primero la paz en nuestro interior por medio del adiestramiento en el camino espiritual, la paz externa se impondrá de forma natural; pero si no lo hacemos así, nunca habrá paz en el mundo por muchas campañas que se organicen en su favor.

ถ้าเราก่อตั้งความสงบภายในของเราเป็นสิ่งแรกด้วยการฝึกฝนในวิถีแห่งจิต, ความสงบภายนอกจะกำหนดด้วยรูปแบบที่เป็นธรรมขาติ; แต่ถ้าเราไม่ปฏิบัติเช่นนี้,จะไม่มีความสงบเกิดขีนในโลกแม้จะทำการรณรงค์ส่งเสริมอย่างมากมายก็ตาม.

Sin paz interior, la paz externa es imposible. Todos deseamos que haya paz en el mundo, pero esto no ocurrirá hasta que encontremos paz en nuestras mentes.

ปราศจากความสงบภายใน,ความสงบภายนอกย่อมเป็นไปไม่ได้. ทุกคนปรารถนาที่จะให้มีความสงบเกิดขึ้นในโลก, แต่สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นจนกว่าเราจะพบควสมสงบภายในจิตของเรา.

Aunque se envíen tropas para pacificar los conflictos bélicos, es imposible imponer la paz por las armas. Sólo descubriendo la paz interior en nuestra mente y ayudando a los demás a hacer lo mismo podremos conseguir la paz mundial.

แม้ว่าจะส่งกองทัพไปเพื่อทำให้ความขัดแย้งทางสงครามสงบลง, เป็นไปไม่ได้ที่จะบังคับให้เกิดความสงบด้วยอาวุธ. เพียงค้นหาความสงบภายในแห่งจิตของเราและช่วยให้ผู้คนทั้งหลายปฏิบัติเช่นเดียวกันเราจะสามารถได้มาซึ่งความสงบของโลก.

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

คำศัพท์สำคัญในทางพุทธศาสนา

Las cuatro nobles verdades อริยสัจ 4
1. La existencia del sufrimiento ทุกข์ (ทุกข์)
2. La causa del sufrimiento เหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย)
3. La liberación del sufrimiento การดับทุกข์ (นิโรจน์)
4. El camino para la liberalción del sufrimiento หนทางแห่งการดับทุกข์ (มรรค)

El noble camino óctuple มรรคมีองค์ 8
1. Visión correcta เห็นชอบ ( สัมมาทิฏฐิ )
2. Pensamiento correcto ดำริชอบ ( สัมมาสังกัปปะ )
3. Habla correcta เจรจาชอบ ( สัมมาวาจา )
4. Acción correcta กระทำชอบ ( สัมมากัมมันตะ )
5. Existencia correcta เลี้ยงชีพชอบ ( สัมมาอาชีวะ )
6. Esfuerzo correcto พยายามชอบ ( สัมมาวายามะ )
7. Atención correcta ระลึกชอบ ( สัมมาสติ )
8. Contemplación correcta ตั้งจิตมั่นชอบ ( สัมมาสมาธิ )

Las tres características de la existencia ลักษณะสามประการแห่งสังขารธรรมทั้งหลาย ( ไตรลักษณ์ )
1. Impermanencia ความเป็นของไม่เที่ยง ( อนิจจัง )
2.Pesar ความเป็นทุกข์ ( ทุกขัง )
3.Abnegación ความไม่มีอยู่ของตัวตน ( อนัตตา )

Los cinco agregados ส่วนประกอบห้าอย่างที่รวมกันเข้าเป็นสิ่งมีชีวิต ( ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ )
1. Forma รูปร่าง, ร่างกาย ( รูป )
2. Los Sentimientos ความรู้สึก ( เวทนา )
3. Percepción สัญลักษณ์ต่างๆที่จิตกำหนดรู้ ( สัญญา )
4. Volición การปรุงแต่งของจิต ( สังขาร )
5. Conciencia ความรับรู้อารมณ์ ( วิญญาณ )

Los cuatro estados ilimitados หลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์ ( พรหมวิหาร 4 )
1. Bondad afectuosa ความปรารถนาดี มีไมตรีจิต คิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า ( เมตตา )
2. Compasión ความสงสาร คิดช่วยบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์ ( กรุณา )
3. Alegría benévola ความพลอยยินดีไปกับความสุข และความสำเร็จของผู้อื่น ( มุทิตา )
4. Ecuanimidad ความวางใจเป็นกลาง วางเฉย มีจิตเที่ยงตรงไม่เอียงเอนด้วยรักและชัง ( อุเบกขา )

Las diez cadenas de la existencia กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ ( สังโยชน์ 10 )
1. Autoengaño ความเห็นว่ามีตัวตน ( สักกายทิฏฐิ )
2. Duda ความสงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ ( วิจิกิจฉา )
3. Aferrarse al simple ritual ความยึดติดกับพิธีกรรมอย่างงมงาย ( สีลัพพตปรามาส )
4. Apetito sensual ความกำหนัดในกาม ติดใจในกามคุณ ( กามราคะ )
5. Mala voluntad ความหงุดหงิดขัดเคือง ( ปฏิฆะ )
6. Deseo de una buena vida material ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือความปรารถนาในรูปภพ ( รูปราคะ )
7. Deseo de existencia inmaterial ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือความปรารถนาในอรูปภพ ( อรูปราคะ )
8. Orgullo ความสำคัญตน ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ( มานะ )
9. Inquietud ความฟุ้งซ่าน ( อุทธัจจะ )
10. Ignorancia ความไม่รู้จริง ความหลง ( อวิชชา )

Las cuatro etapas del nirvana en Budismo

ผลสี่แห่งพระนิพพานในพุทธศาสนา

Sotapanna ; La etapa del ganador de la corriente del Nirvana,la persona que elimina las primeras 3 cadenas de la existencia y esta persona volverá a reencarnar como ser humano 7 veces más antes de ingresar en el Nirvana.

พระโสดาบัน (ผู้เข้าสู่กระแสแห่งพระนิพพาน แต่จะต้องกลับมาเกิดอีกเจ็ดครั้ง) คือผู้ที่ละสังโยชน์ได้สามข้อแรก

Sakadagami; La etapa de un solo regreso, la persona que elimina las primeras 3 cadenas de la existencia y alivia la codicia,ennojo y confusión, y esta persona volverá a reencarnar como ser humano una vez más antes de ingresar en el Nirvana.

พระสกทาคามี (ผู้ที่จะกลับมาเกิดอีกเพียงหนึ่งครั้ง) คือผู้ที่ละสังโยชน์ได้สามข้อแรกเช่นกันและ ทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง

Anagami; La etapa del no regreso, la persona que elimina las primeras 5 cadenas de la existencia,y esta persona va a ingresar en el Nirvana en la esfera inmaterial sin volver a reencarnar más como ser humano.

พระอนาคามี (ผู้ที่จะไม่มาเกิดในกามภพอีกแล้ว หลังจากละสังขารไปแล้วจะเกิดในสวรรค์ ชั้นพรหมและจะสำเร็จเป็น พระอรหันต์ในชั้นนั้นเลย) คือผู้ที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้งห้าข้อ

Arahant; La etapa del Arhant, la persona que elimina las 10 cadenas de la existencia y esta persona va a ingresar en el Nirvana en esta vida.

พระอรหันต์ (ผู้ที่จะเข้าสู่พระนิพพานในภพนี้เลย) คือผู้ที่ละสังโยชน์ได้ทั้ง 10 ข้อ

Cómo encontrar felicidad จะพบกับความสุขได้อย่างไร

La felicidad es un estado mental y, por lo tanto, depende de la mente y no de las circunstancias externas.

ความสุขเป็นสภาวะจิตอย่างหนึ่ง และ,ดังนั้น, มันจึงขึ้นอยู่กับจิต และไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ภายนอก.

Si nuestra mente es pura y apacible, seremos felices sin importar las condiciones externas, pero si es impura y está alterada, nunca encontraremos felicidad por mucho que intentemos cambiar nuestras circunstancias.

ถ้าจิตของเราบริสุทธิ์และเป็นสมาธิ,เราก็จะเป็นสุขโดยไม่ต้องสนใจปัจจัยภายนอก, แต่ถ้ามันไม่บริสุทธิ์และไม่สงบ, เราก็จะไม่พบกับความสุขเลยแม้ว่าเราจะพยายามเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ภายนอกก็ตาม.

La meditación nos permite cultivar estados mentales apacibles y eliminar aquellos que no lo son. Con el estudio y la meditación nos esforzamos por desarrollar tres clases de sabiduría: la que surge de la escucha, la que surge de la contemplación y la que surge de la meditación.

การทำวิปัสสนาจะปลูกฝังสภาวะจิตที่เป็นสมาธิแก่เรา และช่วยขจัดสิ่งต่างๆที่ไม่พึงประสงค์ออกไป. เราพยายามด้วยการศึกษาหาความรู้และการทำวิปัสสนา เพื่อพัฒนาปัญญาสามชนิด: ปัญญาอันเกิดจากการฟัง, ปัญญาอันเกิดจากการพิจารณาไตร่ตรอง, ปัญญาอันเกิดจากการทำวิปัสสนา.

Cuando hayamos desarrollado estas sabidurías por completo, eliminaremos la confusión de nuestra mente. Para tener éxito en el estudio y la meditación, debemos reunir ciertas condiciones internas, como recibir bendiciones, purificar nuestro karma negativo y acumular méritos.

เมื่อใดที่เราพัฒนาปัญญาทั้งสามอย่างนี้โดยสมบูรณ์แล้ว, เราก็จะขจัดความสับสนออกจากจิตของเรา. เพื่อความสำเร็จในการศึกษาและการทำวิปัสสนา,เราจะต้องรวบรวมปัจจัยภายในหลายอย่าง, เช่น รับศีลรับพร,ขจัดอกุศลกรรมของเรา(สร้างกุศลกรรม) และหมั่นทำบุญสุนทาน.

Todo esto se consigue con prácticas como la de confiar en un guía espiritual cualificado, hacer ofrendas, recitar oraciones, etc.

สิ่งเหล่านี้จะได้มาก็โดยการปฏิบัติ เช่นไว้ใจในผู้นำทางแห่งจิตวิญญาณที่ถูกคัดสรรแล้ว,ทำบุญตักบาตร, สวดมนต์,เป็นต้น.

Cómo encontrar paz mental จะพบความสงบแห่งจิตได้อย่างไร

Desde tiempo sin principio hemos estado dominados por nuestra mente como si fuéramos marionetas. Somos sus siervos y cuando quiere que hagamos algo, no nos queda más remedio que hacerlo.

นานแสนนานมาแล้วเราถูกจิตควบคุมราวกับว่าเป็นหุ่นกระบอก. เราคือคนรับใช้และเมื่อไรมันต้องการให้เราทำสิ่งใด, เราก็ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากทำมัน.

En ocasiones, nuestra mente es como un elefante desbocado que nos crea innumerables problemas tanto a nosotros mismos como a los demás.

ในหลายโอกาส,จิตของเราเป็นเสมือนช้างดื้อด้านที่สร้างปัญหาเหลือคณานับให้กับเราพอๆกับให้ผู้อื่น.

Si nos adiestramos de manera sincera en la práctica espiritual, podremos cambiar esta situación y controlar nuestra mente. De este modo, disfrutaremos de verdadera libertad.

ถ้าเราฝึกฝนตัวเองด้วยวิธีการที่ง่ายๆในการปฏิบัติแห่งจิตวิญญาณ,เราจะสามรถเปลี่ยนสภาพการเช่นนี้ได้ และ ค้นพบจิตของเรา. ด้วยแนวทางนี้,เราจะได้รับประโยชน์จากความเป็นอิสระจริงๆ.

Para tener éxito en nuestra práctica espiritual, debemos recibir bendiciones e inspiración de aquellos que han alcanzado profundas realizaciones internas, pero también es importante levantar el ánimo en todo momento.

เพื่อความสำเร็จในการปฏิบัติแห่งจิตวิญญาณของเรา, เราจะต้องรับพรและคำแนะนำจากบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยอภิญญา, แต่การสร้างกำลังใจในทุกขณะจิตก็สำคัญเช่นกัน.

Si no nos animamos nosotros mismos, ¿quién lo va a hacer? Cuando comprendamos con claridad que la paz interior es la verdadera fuente de felicidad y que por medio de la práctica espiritual podemos alcanzar estados cada vez más apacibles, sentiremos un gran entusiasmo por la práctica.

ถ้าเราไม่สร้างกำลังใจให้ตัวเอง, แล้วใครจะทำหละ? เมื่อเราเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าความสงบภายในเป็นบ่อเกิดแห่งความสุข และโดยผ่านทางการปฏิบัติแห่งจิตวิญญาณ เราจะสามรถเข้าถึงสภาวะที่สงบมากขึ้นทุกทีๆ, เราจะรู้สึกถึงความกระตือรือร้นอย่างใหญ่หลวงผ่านทางการปฏิบัติ.

Esto es muy importante porque para alcanzar la paz interior permanente del nirvana, tenemos que practicar con sinceridad y perseverancia.

นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะการถึงซึ่งความสงบภายในอย่างถาวรแห่งพระนิพพาน, เราจะต้องปฏิบัติอย่างจริงจังและมุ่งมั่น.

Paz mental ความสงบแห่งจิต


Todos los seres tienen un mismo deseo: encontrar la felicidad y evitar el sufrimiento, pero muy pocos conocen sus verdaderas causas.

ทุกสรรพสัตว์มีความปรารถนาอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน: พบกับความสุขและป้องกันการเกิดทุกข์,แต่มีอยู่น้อยนักที่รู้สาเหตุที่แท้จริง.

Por lo general, pensamos que los objetos externos, como la comida, los amigos, los coches o el dinero son verdaderas causas de felicidad y, en consecuencia, dedicamos la mayor parte de nuestro tiempo a intentar adquirirlos. Aunque a simple vista parece que estas condiciones nos hacen felices, si lo analizamos con detenimiento, nos darémos cuenta de que también nos ocasionan numerosos problemas y sufrimientos.

โดยทั่วไป,เราคิดว่าวัตถุภายนอก,เป็นต้นว่า อาหาร,เพื่อนฝูง,รถยนต์ หรือ เงินตรา คือสาเหตุที่แท้จริงของความสุขและ,ผลที่ตามมา,เราอุทิศเวลาส่วนใหญ่ของเราในการพยายามที่จะได้มันมา.แม้ว่าดูอย่างผิวเผินแล้วปัจจัยเหล่านี้คล้ายกับว่าทำให้เรามีความสุข,ถ้าเราวิเคราะห์ด้วยความระมัดระวังรอบคอบ,เราจะตระหนักได้ว่ามันเป็นเหตุให้เกิดปัญหาและความทุกข์อย่างมากมายกับเรา.

La felicidad y el sufrimiento son estados mentales opuestos. Por lo tanto, si algo es una causa verdadera de felicidad, no puede serlo también de sufrimiento. Si la comida, el dinero y demás objetos externos fueran verdaderas causas de felicidad, nunca producirían sufrimiento, pero sabemos por propia experiencia que esto no es cierto.

ความสุขและความทุกข์เป็นภาวะตรงข้ามทางจิต.ดังนั้น, ถ้าสิ่งหนึ่งคือสาเหตุที่แท้จริงแห่งความสุข,สิ่งนั้นย่อมต้องไม่เป็นสาเหตุแห่งความทุกข์เช่นกัน.ถ้าอาหาร,เงินตราและวัตถุนอกกายอีกมากคือสาเหตุแห่งความสุข,มันจะไม่ก่อให้เกิดทุกข์ได้เลย, แต่เราก็รู้ด้วยประสบการณ์ของเราเองว่ามันไม่จริง.

Por ejemplo, la comida es uno de nuestros placeres favoritos, pero también es la causa de numerosas dolencias y enfermedades. Para fabricar los objetos que creemos que nos hacen felices, contaminamos el medio ambiente hasta el punto de convertir el aire que respiramos y el agua que bebemos en una amenaza para nuestra salud y bienestar.

ตัวอย่างเช่น,อาหารเป็นหนึ่งในความพึงพอใจที่เราโปรดปราน,แต่ก็เป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยและโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายของเราเช่นกัน.เพื่อผลิตสิ่งของที่เราเชื่อว่าจะทำให้เรามีความสุข,เราก็สร้างมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อมจนกระทั่งถึงจุดที่จะแปรเปลี่ยนอากาศที่เราหายใจและน้ำที่เราดื่มให้กลายเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของเรา.

Nos gusta disfrutar de la libertad e independencia que nos proporcionan los coches, pero el coste en accidentes de tráfico y contaminación es enorme. Pensamos que el dinero es imprescindible para disfrutar de la vida, pero debemos soportar grandes dificultades para conseguirlo. Incluso nuestros familiares y amigos, con los que compartimos momentos agradables, pueden causarnos numerosas preocupaciones y sufrimiento.

เราชอบที่จะสนุกไปกับอิสรภาพและการไม่ต้องขึ้นกับใครที่รถยนต์จัดสันให้กับเรา,แต่ราคาของอุบัติเหตุทางจราจรและมลภาวะนั้นใหญ่หลวงนัก. เรานึกว่าเงินตราคือสิ่งที่ขาดไม่ได้เพื่อให้ความสนุกสนานแก่ชีวิต;แต่เราก็ต้องอดทนกับความยากลำบากอย่างใหญ่หลวงเพื่อที่จะได้มันมา.รวมทั้งครอบครัวและเพื่อนฝูงของเรา,กลุ่มคนที่เราร่วมแบ่งปันช่วงเวลาที่น่าอภิรมย์ด้วย,เขาเหล่านั้นก็สามรถเป็นสาเหตุแห่งความกระวนกระวายใจและความทุกข์ระทมอย่างมากมายของเรา.

En los últimos años, nuestro entendimiento y control del mundo externo han aumentado considerablemente y, como resultado, hemos presenciado un notable progreso material. Sin embargo, la felicidad del ser humano no se ha incrementado del mismo modo.

ในช่วงปีหลังมานี้,ความเข้าใจของเราและการควบคุมโลกภายนอกของเราได้เพิ่มขึ้นอย่างน่าพิจารณาและในแง่ของผลลัพธ์,เราได้นำเสนอความเจริญทางด้านวัตถุอย่างเห็นได้จัด.อย่างไรก็ตาม,ความสุขของมนุษย์ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นไปในทิศทางเดียวกัน.

Hoy día no hay menos sufrimientos ni menos infortunios en el mundo, incluso podría decirse que ahora experimentamos más problemas e infelicidad que nunca. Esto indica que la causa de la felicidad y la solución a nuestros problemas no se encuentran en el conocimiento y control del mundo externo.

ณ วันนี้ไม่มีทุกข์ที่น้อยลงแม้กระทั่งความโชคร้ายที่น้อยลงในโลกใบนี้, รวมทั้งสามารถพูดได้ว่าเราประสบกับปัญหาและความทุกข์มากขึ้นอย่าที่ไม่เคยเป็นมาก่อน.สิ่งนี้ชี้ว่าสาเหตุแห่งความสุขและทางออกแห่งปัญหาของเราไม่ปรากฏในองค์ความรู้และการควบคุมโลกภายนอก.

¿Por qué? La felicidad y el sufrimiento son estados mentales y, por lo tanto, sus causas no pueden existir fuera de la mente. La verdadera causa de la felicidad es la paz interior.

ทำไม? ความสุขและความทุกข์เป็นสภาวะทางจิตและ,เพราะเหตุนี้,ต้นเหตุของมันจึงไม่สามรถอยู่ภายนอกจิตได้.สาเหตุที่แท้จริงของความสุขก็คือความสงบภายใน.

Si tenemos una mente apacible, seremos felices en todo momento, aunque las condiciones externas sean adversas, pero si estamos preocupados e inquietos, nunca seremos felices por muy favorables que estas sean.

ถ้าเรามีจิตที่สงบ,เราจะเป็นสุขอยู่ตลอดเวลา,แม้ว่าปัจจัยภายนอกอาจจะไม่เอื้ออำนวย,แต่ถ้าเราเป็นกังวลและไม่นิ่ง, เราก็จะไม่มีความสุขเลยแม้ว่าปัจจัยภายนอกจะเอื้ออำนวยก็ตามที.

Las condiciones externas sólo nos hacen felices si tenemos una mente apacible.

ปัจจัยภายนอกทำให้เรามีความสุขได้ถ้าเรามีจิตที่สงบเท่านั้น.

Bodhidarma:พระโพธิธรรม (ตั๊กม้อ) แปลโดย..Don Bigote



Sermón del despertar เทศนาธรรมแห่งการตื่นรู้
La esencia del Camino es el desapego. Y la meta de aquellos que practican es liberarse de las apariencias. Se dice en los sutras: «El desapego es despertar porque niega las apariencias». La budeidad significa atención sutil. Aquellos mortales cuyas mentes tienen atención natural alcanzan el Camino del despertar y por ello son llamados Buddhas. Se dice en los sutras: «Aquellos que se liberan a sí mismos de toda apariencia son llamados Buddhas». El aspecto de la apariencia como no apariencia no puede apreciarse visualmente sino que únicamente puede conocerse mediante la sabiduría. Cualquiera que escuche y crea esta enseñanza se embarcará en el Gran Vehículo y abandonará los tres reinos.
สาระสำคัญของมรรคคือความไม่ยึดมั่น ถือมั่น (สิ้นอุปปาทาน.) และจิตของผู้ปฏิบัติหลุดพ้นจากปรากฏการณ์ทั้งหลาย. ในพระสูตรกล่าวไว้ว่า: ((ความสิ้นอุปาทานคือการตื่นรู้เพราะมันจะปฏิเสธปรากฏการณ์ทั้งหลาย.)) พุทธภาวะหมายถึงการตื่นตัว. ปุถุชนทั้งหลายเหล่านั้นซึ่งมีจิตที่มีความตื่นตัวโดยธรรมชาติ ที่เข้าถึงซึ่งมรรคแห่งการตื่นรู้ ดังนั้น จึงถูกเรียกว่า พุทธะ. ในพระสูตรได้กล่าวไว้ว่า:((ผู้ที่หลุดพ้นตัวตน จากปรากฏการณ์ทั้งหมดย่อมได้ชื่อว่าเป็นพุทธะ.)) ลักษณะแห่งปรากฏการณ์ที่ไม่มีปรากฏการณ์ ย่อมไม่สามรถชื่นชมได้ด้วยตาเปล่า หากแต่สามารถรับรู้ได้ด้วยปัญญาเพียงทางเดียว. ผู้ใดที่ฟังและเชื่อในคำสอนนี้จะได้ร่วมโดยสารไปในยานที่ยิ่งใหญ่และจะได้ละทิ้งภูมิทั้งสาม.( โลภ โกรธ หลง )
Los tres reinos son codicia, aversión y confusión. Abandonar los tres reinos significa regresar desde la codicia, aversión y la confusión a la moralidad (el camino de la virtud natural sin culpabilidad), Contemplación (con amor benevolente) y la sabiduría (inteligencia natural encontrada en las enseñanzas). Codicia, aversión, y confusión no tienen naturaleza propia (sus aparentes raíces, son las Identidades), son ilusorias y cualquiera capaz de reflexionar verá que la naturaleza de la codicia, aversión y confusión es la naturaleza búdica.
ภูมิทั้งสามคือ โลภ โกรธ และ หลง. การละทิ้งภูมิทั้งสามหมายถึงการกลับจากโลภ โกรธ หลง มาสู่ศีล ( มรรคาแห่งความดีงามตามธรรมชาติปราศจากความผิดใดๆ ), สมาธิ ( ด้วยความรักแก่ผู้อื่น ) และปัญญา ( ความรอบรู้ตามธรรมชาติซึ่งพบได้ในคำสอนทั้งหลาย ).ความโลภ ความโกรธ, และ ความหลง ไม่มีธรรมชาติของตนเอง ( รากเหง้าแห่งลักษณะของมัน, เป็นสิ่งเฉพาะตัว ), เป็นมายาภาพ และใครก็ตามที่สามารถสะท้อนภาพมันออกมาได้ ก็จะเห็นว่า ธรรมชาติแห่งความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็คือธรรมชาติแห่งพุทธะ.
Más allá de codicia odio y confusión no hay otra naturaleza búdica. Se dice en los sutras: « Los budas sólo se han convertido en budas mientras vivían con los tres venenos y alimentándose del Dharma puro». Los tres venenos son codicia, odio y confusión.El Gran Vehículo es el más grande de los vehículos. Es el transporte de los bodhisattvas, que lo usan todo sin usarlo y que viajan todo el día sin viajar. Así es el vehículo de los bodhisattvas. Se dice en los sutras: «El no vehículo es el vehículo de los Buddhas».
เหนือความโลภ โกรธ หลง ย่อมไม่มีธรรมชาติแห่งพุทธะอื่นใดอีก. ในพระสูตรได้กล่าวไว้ว่า: พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ได้เป็นพระพุทธเจ้าในขณะที่อยู่กับสามอสรพิษ และหล่อเลี้ยงตนเองด้วยธรรมที่บริสุทธิเท่านั้น. สามอสรพิษก็คือ โลภ, โกรธ, และ หลง.มหายานเป็นยานที่ใหญ่กว่ายานใดๆ. เป็นพาหนะของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย, ซึ่งใช้มันโดยที่ไม่ต้องใช้ และเดินทางทั้งวันโดยที่ไม่ต้องเดินทาง. เช่นนี้คือยานแห่งพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย. ในพระสูตรได้กล่าวไว้ว่า: การไม่มียาน คือยานของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
Cualquiera que comprenda que los seis sentidos no son reales, que los cinco agregados son ficciones, que ninguno de ellos puede ser localizado en parte alguna del cuerpo, comprende el lenguaje de los Budas. Se dice en los sutras: «La cueva de los cinco agregados es el vestíbulo del Chan. La apertura del ojo de la mente es la puerta del Gran Vehículo». No puede ser más claro.
ใครก็ตามที่เข้าใจ ว่าอายาตนะทั้งหกไม่ใช่ของจริง, เบญจขันธ์เป็นภาพลวงตา, ไม่มีสิ่งใดในสองสิ่งนี้จะสามารถตั้งอยู่ได้ในกายนี้, ก็จะเข้าใจภาษาของเหล่าพระพุทธเจ้า. ในพระสูตรได้กล่าวไว้ว่า: ถ้ำแห่งเบญจขันธ์คือห้องโถงของ เซน. การเปิดดวงตาแห่งจิต คือประตูของมหายาน. ชัดเจนกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว.
No pensar en nada es Chan. Una vez que se sabe, caminar, estar de pie, sentarse o estirarse, todo lo que se haga, es Chan. Saber que la mente es vacío es ver al Buddha. Los Buddhas de las diez direcciones no tienen mente. Ver la no mente es ver al Buddha.Renunciar a uno mismo sin pesar es la caridad más grande. Trascender movimiento e inmovilidad es la mayor de las meditaciones. Los mortales no dejan de moverse, y los arhats permanecen inmóviles. Pero la más elevada de las meditaciones trasciende tanto la de los mortales como la de los arhats. Aquellos que alcanzan dicha comprensión se liberan a sí mismos de todas las apariencias sin esfuerzo y curan cualquier enfermedad sin tratamiento. Tal es el poder del gran Chan.
ไม่คิดถึงสิ่งใดเลยคือ เซน. เมื่อได้รู้จัก การเดิน, ยืน, นั่ง หรือ ยืดตัว, ทุกสิ่งที่ทำนั้นคือ เซน. รู้ว่าจิตคือความว่าง คือการเห็นพุทธะ. พระพุทธเจ้าทั้งสิบทิศไม่มีจิต. เห็นการไร้ซึ่งจิต คือเห็นพุทธะ.การละตัวตน(อัตตา)โดยปราศจากความเศร้าโศกเสียใจ ย่อมเป็นทานที่ยิ่งใหญ่. การอยู่เหนือความเคลื่อนไหว และ ความนิ่ง เป็นสิ่งสูงสุดของกรรมฐาน. ปุถุชนทั่วไปย่อมไม่หยุดเคลื่อนไหว, และพระอรหันต์ทั้งหลายย่อมหยุดนิ่ง. แต่กรรมฐานขั้นสูงสุดย่อมอยู่เหนือทั้งปุถุชนและพระอรหันต์. ผู้ที่หยั่งถึงความเข้าใจที่ว่านั้น จะละตัวตน จากปรากฎการณ์ทั้งหลาย โดยปราศจากความพยายาม และรักษาโรคต่างๆโดยการไม่ต้องรักษา. นี่คือพลังแห่งเซนที่ยิ่งใหญ่.
Usar la mente para buscar la realidad es ignorancia. No usar la mente para buscar la realidad es conocimiento. Liberarse uno mismo de las palabras es liberación. Permanecer sin mácula de polvo de sensación es permanecer en el Dharma. Trascender vida y muerte es abandonar el hogar.
การใช้จิตเพื่อค้นหาสัจธรรมคือ อวิชชา. ไม่ใช้จิตเพื่อค้นหาสัจธรรมคือการรู้จริง. การละอัตตา(ตัวตน)จากคำพูดทั้งปวงคือการหลุดพ้น. การดำรงอยู่โดยปราศจากมลทินธุลีแห่งเวทนา เป็นการดำรงอยู่ในพระธรรม. การอยู่เหนือชีวิตและความตายคือการละทิ้งเรือนชาน.
No sufrir otra existencia es alcanzar el Camino. No crear ignorancia es iluminación. Noaferrarse a la ignorancia es sabiduría. La no aflicción es el nirvana. Y la no apariencia dela mente es la otra orilla.
ไม่เป็นทุกข์กับภพอื่นคือการถึงซึ่งมรรคา. ไม่สร้างอวิชชาคือการรู้แจ้ง. ไม่มีอุปปาทาน(ยึดติด)กับอวิชชาคือปัญญาญาณ. ปราศจากความทุกข์ใจคือพระนิพพาน. และการปราศจากจิตคือการถึงซึ่งฟากฝั่ง.
Cuando eres ignorante, esta orilla existe. Pero cuando despiertas, deja de existir. Los mortales permanecen en esta orilla, pero aquellos que descubren el más grande de todos los vehículos no están ni en ésta ni en aquélla. Son capaces de vivir en ambas orillas. Aquellos que ven la otra orilla como diferenciada de ésta no comprenden el Chan.La ignorancia significa mortalidad. Y el conocimiento significa budeidad. No son lo mismo y tampoco son diferentes. Pero la gente distingue entre ignorancia y conocimiento. Cuando somos ignorantes hay un mundo al que escapar. Cuando somos conscientes, no hay nada donde escapar.
เมื่อคุณถูกอวิชชาเข้าครอบงำ, ฟากฝั่งนี้ก็ยังคงดำรงอยู่. แต่เมื่อไรที่คุณตื่นรู้, ฟากฝั่งนี้ก็จะอันตรธานไป. ปุถุชนทั้งหลายดำรงตนอยู่ฝั่งกะนี้, แต่เหล่าชนที่ค้นพบสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่ายานทั้งปวง จะไม่อยู่ทั้งฝั่งนี้และฝั่งโน้น. เค้าสามารถอยู่ได้ทั้งสองฝั่ง. กลุ่มชนที่เห็นความแตกต่างระหว่างฝั่งโน้นกับฝั่งนี้ ย่อมไม่เข้าใจ เซน.อวิชชาหมายถึงความตาย. และความรู้หมายถึงพุทธภาวะ. ไม่ใช่สิ่งเดียวกันแต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่แตกต่างกัน. แต่ผู้คนก็แยกแยะระหว่างอวิชชาและความรู้. เมื่อไรที่เราถูกอวิชชาครอบงำ ก็จะมีโลกให้เราได้หลบหนี. เมื่อไรที่เรามีสติสัมปชัญญะ, ก็ไม่มีที่ใดให้หลบหนี.
A la luz del Dharma imparcial. los mortales no son diferentes de los sabios. En los sutras se dice que el Dharma imparcial es algo que los mortales no pueden penetrar ni los sabios practicar. El Dharma imparcial sólo es practicado por los grandes Buddhas y bodhisattvas. Ver la muerte como algo diferente de la vida o el movimiento como algo diferente de la inmovilidad es ser parcial. Ser imparcial significa ver el sufrimiento como algo no diferenciado del nirvana, porque la naturaleza de ambos es el vacío. Al imaginar que pondrán fin al sufrimiento y entrarán en el nirvana, los arhats acaban atrapados por el nirvana. Pero los bodhisattvas saben que el sufrimiento es esencialmente vacío y permaneciendo en el vacío permanecen en el nirvana. Nirvana significa no nacimiento y no muerte. Está más allá de nacimiento y muerte y más allá del nirvana.
ในแสงสว่างแห่งธรรมะอันเท่าเทียม. ปุถุชนและปราชญ์ย่อมไม่แตกต่างกัน. ในพระสูตรได้กล่าวไว้ว่า ธรรมแห่งความเท่าเทียมเป็นสิ่งที่เหล่าปุถุชนเข้าไม่ถึง แม้กระทั่งนักปราชญ์ก็ไม่ได้ปฏิบัติ. ธรรมะแห่งความเท่าเทียมนี้มีเพียงเหล่าสัมมาสัมพุทธะและเหล่าพระโพธิสัตว์เท่านั้นที่ปฏิบัติ. การเห็นความตายเป็นอะไรที่แตกต่างจากการมีชีวิต หรือ ความเคลื่อนไหวเป็นอะไรที่แตกต่างจากการหยุดนิ่ง คือ อคติ. ความเสมอภาคหมายถึง การเห็นทุกข์เป็นสิ่งที่ไม่แตกต่างจากพระนิพพาน, เพราะธรรมชาติของทั้งสองสิ่งคือความว่าง. การจิตนาการว่าสามารถทำที่สุดแห่งทุกข์ และจะเข้าสู่พระนิพพาน, พระอรหันต์ทั้งหลายก็จะติดกับดักแห่งพระนิพพาน. แต่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั้นรู้ว่าความทุกข์เป็นหัวใจของความว่าง และการดำรงอยู่ในความว่างคือการดำรงอยู่ในพระนิพพาน. พระนิพพานหมายถึงความไม่เกิด และ ไม่ตาย. อยู่เหนือการเกิดและการตาย และอยู่เหนือทั้งนิพพาน.
Cuando la mente deja de moverse, penetra en el nirvana. Nirvana es una mente vacía. Cuando no existe la ignorancia, los Buddhas alcanzan el nirvana. Cuando no existen las aflicciones, los bodhisattvas entran en el lugar de la despertar.
เมื่อไรที่จิตหยุดนิ่ง, ก็จะเข้าสู่พระนิพพาน. พระนิพพานคือจิตว่างอย่างหนึ่ง. เมื่อใดที่ไม่มีอวิชชา, พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็เข้าสู่พระนิพพาน. เมื่อใดที่ปราศจากความทุกข์ทั้งปวง, เหล่าพระโพธิสัตว์ก็จะเข้าสู่แดนแห่งการตื่นรู้.
Un lugar deshabitado es uno sin codicia, odio ni confusión. La codicia es el reino del deseo, el odio el reino de la forma y la ignorancia el reino sin forma.
สถานที่ที่ว่างเปล่าก็คือคนที่ปราศจากโลภ,โกรธ,หลง. ความโลภคือ กามภูมิ, ความโกรธคือ รูปภูมิ, และ อวิชชาคือ อรูปภูมิ.
Cuando da comienzo un pensamiento se penetra en los tres reinos. El principio o fin de los tres reinos, la existencia o no existencia de todo, depende de la mente. Esto es aplicable a todo, incluso a objetos inanimados como rocas y palos.
เมื่อไรที่ความคิดเริ่มก่อตัวขึ้นก็จะเข้าสู่ภูมิทั้งสาม. จุดเริ่มต้นหรือสิ้นสุดของภูมิทั้งสาม, การมีและการไม่มีของสรรพสิ่ง, ล้วนขึ้นอยู่กับจิต. นี่สามารถใช้ได้กับทุกสิ่ง, รวมไปถึงสิ่งของที่ไม่เคลื่อนไหวอย่าง หินและ ท่อนไม้.
Cualquiera que sepa que la mente es una ficción y está vacía de cualquier cosa real, sabe que su propia mente ni existe ni no existe.Los mortales siguen creando la mente, proclamando que existe.Los arhats siguen negando la mente, proclamando que no existe.Pero los bodhisattvas y los Buddhas ni crean ni niegan la mente.( Sabe que NO HAY MENTE y NO HAY NO-MENTE)Eso es lo que significa que la mente ni existe ni no existe. La mente que ni existe ni no existe es lo que se denomina el Camino Medio.
ใครก็ตามที่รู้ว่าจิตเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงและว่างเปล่าจากสิ่งที่เป็นจริงใดๆ, ก็จะรู้ว่าจิตของเค้าเองนั้นทั้งมีและไม่มีอยู่จริง.ปุถุชนทั้งหลายยังคงสร้างจิตต่อไป, ป่าวร้องว่ามีอยู่จริง.พระอรหันต์ทั้งหลายยังคงปฏิเสธจิต, ป่าวร้องว่าไม่มีอยู่จริง.แต่เหล่าพระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ทั้งสร้างและปฏิเสธจิต.( รู้ว่าไม่มีการมีจิตและไม่มีการไร้จิต) **และนี่คือความหมายของการมีอยู่หรือไม่มีอยู่ของจิต. การมีหรือไม่มีอยู่ของจิตนั้นได้ชื่อว่าทางสายกลาง.(มัชฌิมา)
Si utilizas tu mente para estudiar la realidad, no entenderás ni tu mente ni la realidad. Si estudias la realidad sin utilizar la mente, entenderás ambas. Aquellos que no comprenden, no entienden el entendimiento. Y aquellos que comprenden, entienden el entendimiento. La gente capaz de verdadera visión sabe que la mente es vacío, trascienden tanto comprensión como no comprensión.
ถ้าคุณใช้จิตเพื่อศึกษาสัจธรรม, คุณก็จะไม่เข้าใจทั้งจิตและสัจธรรม.ถ้าคุณศึกษาสัจธรรมโดยไม่ใช้จิต, คุณก็จะเข้าใจทั้งสองสิ่ง. เขาเหล่านั้นที่ไม่เข้าใจ, ก็จะไม่เข้าใจความเข้าใจ. และเขาเหล่านั้นที่เข้าใจ, ก็จะเข้าใจความเข้าใจ. ผู้ที่สามารถเห็นอย่างถูกต้อง รู้ว่าจิตคือความว่างเปล่า, ก็จะรู้จักทั้งความเข้าใจและความไม่เข้าใจ.
La ausencia de comprensión y no comprensión es verdadera comprensión.
การปราศจากความเข้าใจ และ ความไม่เข้าใจ คือ ความเข้าใจที่แท้จริง
Vista con verdadera visión, la forma no es simplemente forma, porque la forma depende de la mente. Y la mente no es simplemente mente, porque la mente depende de la forma. Mente y forma crean y niegan una a la otra.
เห็นด้วยทัศนะแท้, รูปย่อมไม่ใช่เป็นเพียงแค่รูป, เพราะรูปอาศัยจิต. และจิตก็ย่อมไม่ได้เป็นเพียงแค่จิต, เพราะจิตอาศัยรูป.จิตและรูปต่างก็สร้างและปฏิเสธซึ่งกันและกัน.
********************************************