มารบ่มีบารมีบ่เกิด sin satanás no habrá carisma

มารบ่มีบารมีบ่เกิด sin satanás no habrá carisma

พระคาถาเยธัมมา - หัวใจพระพุทธศาสนา El discurso Yhedhamma (el corazón del budismo)

เยธัมมา เหตุปัปภวา(ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ)Cualquier cosa tiene su causa เตสัง เหตุ ตถาคโต(พระตถาคตเจ้า ตรัสเหตุของธรรมเหล่านั้น)Buda habla sobre la causa de aguella cosa เตสัญจะโย นิโร โธจะ(และความดับของธรรมเหล่านั้น) y la extinción de aquella cosa เอวังวาที มหาสมโณติ(พระมหาสมณะ มีวาทะตรัสไว้ดังนี้) Así fué lo que dijo Buda

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Verdad última, vacuidad

ความจริงสุดท้าย, สูญญตา(ความว่าง)
La vacuidad no es la nada, sino la naturaleza real de los fenómenos.

สูญญตา(ความว่าง)หาใช่ความไม่มีอะไรไม่, หากแต่เป็นธรรมชาติแท้ของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ.

Los términos verdad última, vacuidad y naturaleza última de los fenómenos son sinónimos.

ขอบเขตของ ความจริงสุดท้าย, ความว่าง และ ปรมัตถ์ธรรม(ธรรมชาติสุดท้าย)ของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมีความหมายเหมือนกัน

Debemos comprender que debido a que no hemos realizado la verdad última, tenemos problemas sin cesar. La razón de que permanezcamos en la prisión del samsara es que seguimos cometiendo acciones contaminadas inducidas por nuestras perturbaciones mentales, que surgen de la ignorancia del aferramiento propio.

เราควรเข้าใจว่าเนื่องจากว่าเราไม่ทำความจริงสุดท้ายให้เป็นรูปธรรมได้,เราจึงมีปัญหามากมายไม่สิ้นสุด. สาเหตุที่เราเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะสงสาร คือเรายังคงสร้างอกุศลกรรมอย่างต่อเนื่องโดยจิตที่วุ่นวายของเรา, ซึ่งเกิดจากอวิชชาแห่งการยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน)ในอัตตา.

Esta ignorancia es la causa de todos nuestros problemas y engaños y la única manera de eliminarla es realizando la vacuidad. Aunque nos resulte difícil comprender la vacuidad, debemos hacer un esfuerzo. De este modo, finalmente seremos recompensados con la cesación permanente del sufrimiento y con el gozo sublime de la iluminación total.

อวิชชานี้คือเหตุแห่งปัญหาทั้งหมดของเราและความหลงผิด และวิธีเดียวที่จะขจัดมันได้คือต้องทำสูญญตา(ความว่าง)ให้เป็นจริงให้ได้. แม้ว่ามันยากที่จะเข้าใจเรื่องของความว่าง,เราควรมีความเพียร. ด้วยวิธีนี้, ที่สุดแล้วเราก็จะถูกชดเชยด้วยที่สุดแห่งทุกข์อย่างสิ้นเชิงและด้วยบรมสุขแห่งการรู้แจ้งเห็นจริง(ตรัสรู้).

El objetivo de comprender la vacuidad y meditar en ella es liberar nuestra mente de las concepciones y apariencias erróneas y convertirnos en un ser completamente puro, en un Buda.

จุดมุ่งหมายแห่งการเข้าใจสูญญตา(ความว่าง)และภาวนาถึงมันเป็นการทำให้จิตของเราหลุดพ้นจากมโนภาพและ,มายาภาพทั้งหลาย และทำให้เรากลายเป็นผู้วิสุทธิ์อย่างบริบูรณ์ , กลายเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง

En este contexto, concepciones erróneas se refiere a la ignorancia del aferramiento propio, la mente conceptual que se aferra a los fenómenos como si tuvieran existencia verdadera; y apariencias erróneas, a las apariencias de los fenómenos como si tuvieran existencia verdadera. Las concepciones erróneas son las obstrucciones a la liberación, y las apariencias erróneas, las obstrucciones a la omnisciencia. Solo los Budas han eliminado estas dos obstrucciones.

ในบทความนี้,มิจฉาทิฐิทั้งหลายหมายถึงอวิชชาแห่งการยึดมั่นถือมั่นในอัตตา, แนวคิดแห่งจิตที่ยึดมั่นอยู่กับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติราวกับว่ามันเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง: และมายาภาพ,ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทั้งหลายแหล่ราวกับว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง.มิจฉาทิฐิเป็นอุปสัก(นิวรณ์)ของการหลุดพ้น.และมิจฉาทิฐิทั้งหลาย,อุปสักทั้งหลายแหล่ของการรู้แจ้งแทงตลอด(สัพพัญญุตาญาณ). มีเพียงเหล่าพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ได้ขจัดนิวรณ์(อุปสัก)สองอย่างนี้.

Existen dos clases de aferramiento propio: el aferramiento a la entidad propia de las personas y el aferramiento a la entidad propia de los fenómenos. El primero se aferra a nuestro yo o al de los demás como si tuviera existencia verdadera, y el segundo, a cualquier otro fenómeno como si tuviera existencia verdadera. Las mentes que se aferran a nuestro cuerpo, a nuestra mente o a nuestras posesiones como si tuvieran existencia verdadera son ejemplos de aferramiento a la entidad propia de los fenómenos.

การยึดมั่นถือมั่นในอัตตามีอยู่สองชนิด: การยึดมั่นตัวตนของบุคคล และการยึดมั่นตัวตนของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ. ชนิดแรกยึดมั่นกับตัวกูของกูหรือยึดติดกับบุคคลทั่วไปราวกับว่าตัวตนนั้นนั้นมีอยู่จริงๆ, และชนิดที่สอง,ยึดมั่นกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทั้งปวงราวกับว่าปรากฏการณ์นั้นมีอยู่จริงๆ. จิตทั้งหลายที่ผูกยึดกับกายของเรา,กับจิตของเราหรือกับการเป็นเจ้าของของเราราวกับว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง เป็นหลายๆตัวอย่างของการยึดมั่นถือมั่นในตัวตนแห่งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ.

El propósito principal de meditar en la vacuidad es reducir y finalmente eliminar las dos clases de aferramiento propio. El aferramiento propio es el origen de todos nuestros problemas. Nuestro sufrimiento es directamente proporcional a la intensidad de nuestro aferramiento propio.

จุดมุ่งหมายหลักของการภาวนาในหลักสูญญตา(ความว่าง)คือการลด และสุดท้ายละการยึดมั่นถือมั่นในอัตตาทั้งสองชนิด.การยึดมั่นถือมั่นในอัตตาเป็นต้นกำเนิดแห่งปัญหาของพวกเรา. ความทุกข์ของเรามีสัดส่วนโดยตรงกับความเข้มข้นของการยึดมั่นถือมั่นในอัตตาของเรา.

Por ejemplo, cuando este es muy intenso, una simple broma puede hacernos enfadar, pero cuando es débil, la misma broma nos hacer reír. Cuando hayamos eliminado por completo el aferramiento propio, todos nuestros problemas desaparecerán de manera natural. Incluso a nivel temporal, la meditación en la vacuidad puede ayudarnos a superar la ansiedad y las preocupaciones.

ยกตัวอย่างเช่น, เมื่อไรที่การยึดมั่นถือมั่นในอัตตามีอยู่อย่างเข้มข้น,การล้อเล่นธรรมดาๆก็สามารถทำให้เราโมโหโกรธาได้,แต่ถ้าหากว่ามันมีอยู่อย่างเบาบาง,การล้อเล่นเดียวกันนั้นก็ทำให้เราหัวเราะได้. เมื่อใดที่เราขจัดการยึดมั่นถือมั่นในอัตตาได้อย่างสมบูรณ์แล้ว,ปัญหาทั้งหมดของเราก็จะอันตรธานไปเองโดยธรรมชาติ. รวมทั้งในระดับชั่วครั้งชั่วคราว, การภาวนาในหลักสูญญตาสามารถช่วยให้เราเอาชนะความชราและความกระวนกระวายใจทั้งหลายได้.

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

ปฏิจจสมุปบาท “อาศัยกันและกันเกิด” Condición dependiente


อวิชชา(ความไม่รู้) ก่อเกิด สังขาร(การนึกคิด,จินตนาการ) Ignorancia surge Volición (Formación mental)

สังขาร(การนึกคิด,จินตนาการ) ก่อเกิด วิญญาณ(จิต) Volición surge Conciancia

วิญญาณ(จิต) ก่อเกิด นามรูป Conciancia surge Nombre y Forma

นามรูป ก่อเกิด สฬายาตนะ(ประตูทั้ง6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) Nombre y Forma surgen Los sies sentidos

สฬายาตนะ(ประตูทั้ง6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ก่อเกิด ผัสสะ(สัมผัส) Los seis sentidos surgen Contacto

ผัสสะ(สัมผัส) ก่อเกิด เวทนา(ความรู้สึก) Contacto surge Sentimiento

เวทนา(ความรู้สึก) ก่อเกิด ตัณหา(ความอยาก) Sentimiento surge Deseo

ตัณหา(ความอยาก) ก่อเกิด อุปาทาน(การยึดติด) Deseo surge Apego

อุปาทาน(การยึดติด) ก่อเกิด ภพ(การมี การเป็น) Apego surge Existencia

ภพ(การมี การเป็น) ก่อเกิด ชาติ(การเกิด) Existencia surge Nacimiento

ชาติ(การเกิด) ก่อเกิด ทุกข์ Nacimiento surge Sufrimiento

ทุกข์ ก่อเกิด อวิชชา(ความไม่รู้) Sufrimiento surge Ignorancia

วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552


Relación entre el cuerpo y la mente

ความสัมพันธ์ระหว่างกายและจิต

La relación entre el cuerpo y la mente se expone con detalle en las enseñanzas tántricas de Buda. Se trata de una relación entre dos entidades distintas que están asociadas durante la vida, pero que también pueden existir por separado.

ความสัมพันธ์ระหว่างกายและจิตได้มีการอธิบายอย่างละเอียดในคำสอนของพระพุทธองค์ในนิกายตันตระ.หมายถึงความสัมพันธ์อย่างหนึ่งระหว่างลักษณะเฉพาะสองชนิดที่แตกต่างกันที่อยู่ร่วมกันตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่,แต่ก็สามารถที่จะอยู่แยกกันได้.

Buda comparó la mente con un pájaro y el cuerpo con un nido. Al igual que un pájaro abandona un nido para volar a otro, en el momento de la muerte, la mente también abandona el cuerpo para buscar otro. También se puede decir que el cuerpo y la mente son como un coche y su conductor, cuyos movimientos están relacionados, pero cuya naturaleza, evidentemente, no es la misma.

พระพุทธองค์ทรงเปรียบจิตเสมือนนกและกายเสมือนรัง.เหมือนกับนกทิ้งรังเพื่อบินไปสู่รังใหม่,ในชั่วขณะแห่งความตาย,จิตก็ละทิ้งกายเพื่อไปหากายใหม่เช่นกัน. เช่นเดียวกันสามารถกล่าวได้ว่ากายและจิตเป็นเหมือนรถยนต์และคนขับ,ซึ่งมีความเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กัน,แต่โดยที่ธรรมชาติ,ไม่ใช่สิ่งเดียวกันอย่างแน่นอน.

El cuerpo y la mente están relacionados por medio de aires de energía internos. Se dice que cada mente «monta» sobre un aire de energía que le proporciona la capacidad de moverse hacia su objeto. Los aires fluyen por canales de energía sutiles que pueden ser percibidos por algunos meditadores. Estos aires internos sirven de conexión entre la mente, que no tiene forma, y el cuerpo físico.

กายและจิตสัมพันธ์กันโดยผ่านทางอากาศธาตุแห่งพลังงานภายใน.ว่ากันว่าทุกๆจิต(ตั้งอยู่)บนอากาศธาตุแห่งพลังงานที่แบ่งสันปันส่วนความสามรถให้มันเคลื่อนไหวตัวเองสู่สิ่งที่หมาย.อากาศธาตุทั้งหลายจะไหลไปตามสายธารแห่งพลังงานที่ละเอียดอ่อนซึ่งสามารถรับรู้ได้โดยนักวิปัสสนากรรมฐานบางคน.อากาศธาตุภายในจะทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างจิต,ที่ไม่มีรูป,กับร่างกาย.

Paz interior

ความสงบภายใน

Cuando las circunstancias son desfavorables y nos encontramos con dificultades, solemos pensar que la situación en sí misma es la causa de nuestros problemas, pero en realidad estos tienen su origen en la mente.

ยามใดที่สถานการณ์ไม่เป็นใจ และ เราประสบกับความยุ่งยากทั้งหลายแหล่, เรามักจะคิดว่าสภาพการณ์เช่นนี้คือเหตุแห่งปัญหาของเรา, แต่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากจิต.

Si respondiésemos ante las dificultades con una mente pacífica, no nos causarían problemas, sino que las consideraríamos como oportunidades para progresar en nuestro desarrollo personal. Los problemas sólo aparecen cuando no sabemos reaccionar de manera constructiva ante las dificultades.

ถ้าเราสนองตอบต่อความยุ่งยากเหล่านี้ด้วยจิตที่สงบ, มันก็จะไม่สร้างปัญหาให้กับเรา, หากแต่เรายังควรจะพิจารณาว่าเป็นโอกาสเพื่อการพัฒนาตนเอง. ปัญหาทั้งหลายแหล่จะปรากฏเฉพาะยามเมื่อเราไม่รู้จักการตอบสนองต่อความยุ่งยากทั้งหลายด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์.

Por lo tanto, si deseamos transformar nuestra vida y liberarnos de los problemas, debemos aprender a dominar nuestra mente. Los sufrimientos, los conflictos, las preocupaciones, la infelicidad y el dolor sólo existen en la mente, no son más que sensaciones desagradables que forman parte de ella.

ทั้งหลายทั้งปวง, ถ้าเราปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของเรา และเป็นอิสระจากปัญหาทั้งหลายแหล่, เราจะต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมจิตของเรา, ความทุกข์, ความขัดแย้ง, ความกังวนใจทั้งหลาย, ความไร้สุข และ ความเจ็บปวด จะมีอยู่ในจิตเท่านั้น, มันเป็นเพียงความรู้สึกที่ไม่น่าอภิรมย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของจิต.

Si controlamos y purificamos nuestra mente, podrémos eliminarlas por completo.

ถ้าเราควบคุมและทำจิตของเราให้ผ่องแผ้ว, เราก็จะสามรถขจัดสิ่งเหล่านี้ออกไปได้อย่างสมบูรณ์



Paz mundial ความสงบของโลก

La calidad de nuestra vida no sólo depende del progreso material, sino también de que cultivemos paz y felicidad en nuestro interior.

คุณภาพชีวิตของเราไม่ใช่ขึ้นอยู่แต่เพียงความเจริญทางด้านวัตถุ,หากแต่ยังขึ้นอยู่กับว่าเราปลูกฝังความสงบและความสุขภายในของเรา

Por ejemplo, en el pasado numerosos budistas vivían en países pobres y, a pesar de ello, disfrutaban de felicidad pura y duradera porque practicaban las enseñanzas de Buda.

ยกตัวอย่างเช่น, ในอดีตชาวพุทธมากมายอาศัยอยู่ในประเทศที่ยากจนและ,ถึงกระนั้นก็ตาม,พวกเขาก็ยังดื่มด่ำความสุขที่บริสุทธิ์และยั่งยืน เนื่องจากว่าพวกเขาปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า.

Si integramos las enseñanzas de Buda en nuestra vida diaria, podemos resolver nuestros problemas internos y disfrutar de verdadera serenidad. Sin paz interior, la paz externa es imposible.

ถ้าเราปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างสมบูรณ์ในชีวิตประจำวันของเรา, เราจะสามารถแก้ไขปัญหาภายในทั้งหลายแหล่ของเราได้ และดื่มด่ำความสงบอย่างแท้จริง. ไร้ซึ่งความสงบภายใน, ความสงบภายนอกย่อมเป็นไปไม่ได้เลย.

Si establecemos primero la paz en nuestro interior por medio del adiestramiento en el camino espiritual, la paz externa se impondrá de forma natural; pero si no lo hacemos así, nunca habrá paz en el mundo por muchas campañas que se organicen en su favor.

ถ้าเราก่อตั้งความสงบภายในของเราเป็นสิ่งแรกด้วยการฝึกฝนในวิถีแห่งจิต, ความสงบภายนอกจะกำหนดด้วยรูปแบบที่เป็นธรรมขาติ; แต่ถ้าเราไม่ปฏิบัติเช่นนี้,จะไม่มีความสงบเกิดขีนในโลกแม้จะทำการรณรงค์ส่งเสริมอย่างมากมายก็ตาม.

Sin paz interior, la paz externa es imposible. Todos deseamos que haya paz en el mundo, pero esto no ocurrirá hasta que encontremos paz en nuestras mentes.

ปราศจากความสงบภายใน,ความสงบภายนอกย่อมเป็นไปไม่ได้. ทุกคนปรารถนาที่จะให้มีความสงบเกิดขึ้นในโลก, แต่สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นจนกว่าเราจะพบควสมสงบภายในจิตของเรา.

Aunque se envíen tropas para pacificar los conflictos bélicos, es imposible imponer la paz por las armas. Sólo descubriendo la paz interior en nuestra mente y ayudando a los demás a hacer lo mismo podremos conseguir la paz mundial.

แม้ว่าจะส่งกองทัพไปเพื่อทำให้ความขัดแย้งทางสงครามสงบลง, เป็นไปไม่ได้ที่จะบังคับให้เกิดความสงบด้วยอาวุธ. เพียงค้นหาความสงบภายในแห่งจิตของเราและช่วยให้ผู้คนทั้งหลายปฏิบัติเช่นเดียวกันเราจะสามารถได้มาซึ่งความสงบของโลก.

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

คำศัพท์สำคัญในทางพุทธศาสนา

Las cuatro nobles verdades อริยสัจ 4
1. La existencia del sufrimiento ทุกข์ (ทุกข์)
2. La causa del sufrimiento เหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย)
3. La liberación del sufrimiento การดับทุกข์ (นิโรจน์)
4. El camino para la liberalción del sufrimiento หนทางแห่งการดับทุกข์ (มรรค)

El noble camino óctuple มรรคมีองค์ 8
1. Visión correcta เห็นชอบ ( สัมมาทิฏฐิ )
2. Pensamiento correcto ดำริชอบ ( สัมมาสังกัปปะ )
3. Habla correcta เจรจาชอบ ( สัมมาวาจา )
4. Acción correcta กระทำชอบ ( สัมมากัมมันตะ )
5. Existencia correcta เลี้ยงชีพชอบ ( สัมมาอาชีวะ )
6. Esfuerzo correcto พยายามชอบ ( สัมมาวายามะ )
7. Atención correcta ระลึกชอบ ( สัมมาสติ )
8. Contemplación correcta ตั้งจิตมั่นชอบ ( สัมมาสมาธิ )

Las tres características de la existencia ลักษณะสามประการแห่งสังขารธรรมทั้งหลาย ( ไตรลักษณ์ )
1. Impermanencia ความเป็นของไม่เที่ยง ( อนิจจัง )
2.Pesar ความเป็นทุกข์ ( ทุกขัง )
3.Abnegación ความไม่มีอยู่ของตัวตน ( อนัตตา )

Los cinco agregados ส่วนประกอบห้าอย่างที่รวมกันเข้าเป็นสิ่งมีชีวิต ( ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ )
1. Forma รูปร่าง, ร่างกาย ( รูป )
2. Los Sentimientos ความรู้สึก ( เวทนา )
3. Percepción สัญลักษณ์ต่างๆที่จิตกำหนดรู้ ( สัญญา )
4. Volición การปรุงแต่งของจิต ( สังขาร )
5. Conciencia ความรับรู้อารมณ์ ( วิญญาณ )

Los cuatro estados ilimitados หลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์ ( พรหมวิหาร 4 )
1. Bondad afectuosa ความปรารถนาดี มีไมตรีจิต คิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า ( เมตตา )
2. Compasión ความสงสาร คิดช่วยบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์ ( กรุณา )
3. Alegría benévola ความพลอยยินดีไปกับความสุข และความสำเร็จของผู้อื่น ( มุทิตา )
4. Ecuanimidad ความวางใจเป็นกลาง วางเฉย มีจิตเที่ยงตรงไม่เอียงเอนด้วยรักและชัง ( อุเบกขา )

Las diez cadenas de la existencia กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ ( สังโยชน์ 10 )
1. Autoengaño ความเห็นว่ามีตัวตน ( สักกายทิฏฐิ )
2. Duda ความสงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ ( วิจิกิจฉา )
3. Aferrarse al simple ritual ความยึดติดกับพิธีกรรมอย่างงมงาย ( สีลัพพตปรามาส )
4. Apetito sensual ความกำหนัดในกาม ติดใจในกามคุณ ( กามราคะ )
5. Mala voluntad ความหงุดหงิดขัดเคือง ( ปฏิฆะ )
6. Deseo de una buena vida material ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือความปรารถนาในรูปภพ ( รูปราคะ )
7. Deseo de existencia inmaterial ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือความปรารถนาในอรูปภพ ( อรูปราคะ )
8. Orgullo ความสำคัญตน ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ( มานะ )
9. Inquietud ความฟุ้งซ่าน ( อุทธัจจะ )
10. Ignorancia ความไม่รู้จริง ความหลง ( อวิชชา )

Las cuatro etapas del nirvana en Budismo

ผลสี่แห่งพระนิพพานในพุทธศาสนา

Sotapanna ; La etapa del ganador de la corriente del Nirvana,la persona que elimina las primeras 3 cadenas de la existencia y esta persona volverá a reencarnar como ser humano 7 veces más antes de ingresar en el Nirvana.

พระโสดาบัน (ผู้เข้าสู่กระแสแห่งพระนิพพาน แต่จะต้องกลับมาเกิดอีกเจ็ดครั้ง) คือผู้ที่ละสังโยชน์ได้สามข้อแรก

Sakadagami; La etapa de un solo regreso, la persona que elimina las primeras 3 cadenas de la existencia y alivia la codicia,ennojo y confusión, y esta persona volverá a reencarnar como ser humano una vez más antes de ingresar en el Nirvana.

พระสกทาคามี (ผู้ที่จะกลับมาเกิดอีกเพียงหนึ่งครั้ง) คือผู้ที่ละสังโยชน์ได้สามข้อแรกเช่นกันและ ทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง

Anagami; La etapa del no regreso, la persona que elimina las primeras 5 cadenas de la existencia,y esta persona va a ingresar en el Nirvana en la esfera inmaterial sin volver a reencarnar más como ser humano.

พระอนาคามี (ผู้ที่จะไม่มาเกิดในกามภพอีกแล้ว หลังจากละสังขารไปแล้วจะเกิดในสวรรค์ ชั้นพรหมและจะสำเร็จเป็น พระอรหันต์ในชั้นนั้นเลย) คือผู้ที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้งห้าข้อ

Arahant; La etapa del Arhant, la persona que elimina las 10 cadenas de la existencia y esta persona va a ingresar en el Nirvana en esta vida.

พระอรหันต์ (ผู้ที่จะเข้าสู่พระนิพพานในภพนี้เลย) คือผู้ที่ละสังโยชน์ได้ทั้ง 10 ข้อ

Cómo encontrar felicidad จะพบกับความสุขได้อย่างไร

La felicidad es un estado mental y, por lo tanto, depende de la mente y no de las circunstancias externas.

ความสุขเป็นสภาวะจิตอย่างหนึ่ง และ,ดังนั้น, มันจึงขึ้นอยู่กับจิต และไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ภายนอก.

Si nuestra mente es pura y apacible, seremos felices sin importar las condiciones externas, pero si es impura y está alterada, nunca encontraremos felicidad por mucho que intentemos cambiar nuestras circunstancias.

ถ้าจิตของเราบริสุทธิ์และเป็นสมาธิ,เราก็จะเป็นสุขโดยไม่ต้องสนใจปัจจัยภายนอก, แต่ถ้ามันไม่บริสุทธิ์และไม่สงบ, เราก็จะไม่พบกับความสุขเลยแม้ว่าเราจะพยายามเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ภายนอกก็ตาม.

La meditación nos permite cultivar estados mentales apacibles y eliminar aquellos que no lo son. Con el estudio y la meditación nos esforzamos por desarrollar tres clases de sabiduría: la que surge de la escucha, la que surge de la contemplación y la que surge de la meditación.

การทำวิปัสสนาจะปลูกฝังสภาวะจิตที่เป็นสมาธิแก่เรา และช่วยขจัดสิ่งต่างๆที่ไม่พึงประสงค์ออกไป. เราพยายามด้วยการศึกษาหาความรู้และการทำวิปัสสนา เพื่อพัฒนาปัญญาสามชนิด: ปัญญาอันเกิดจากการฟัง, ปัญญาอันเกิดจากการพิจารณาไตร่ตรอง, ปัญญาอันเกิดจากการทำวิปัสสนา.

Cuando hayamos desarrollado estas sabidurías por completo, eliminaremos la confusión de nuestra mente. Para tener éxito en el estudio y la meditación, debemos reunir ciertas condiciones internas, como recibir bendiciones, purificar nuestro karma negativo y acumular méritos.

เมื่อใดที่เราพัฒนาปัญญาทั้งสามอย่างนี้โดยสมบูรณ์แล้ว, เราก็จะขจัดความสับสนออกจากจิตของเรา. เพื่อความสำเร็จในการศึกษาและการทำวิปัสสนา,เราจะต้องรวบรวมปัจจัยภายในหลายอย่าง, เช่น รับศีลรับพร,ขจัดอกุศลกรรมของเรา(สร้างกุศลกรรม) และหมั่นทำบุญสุนทาน.

Todo esto se consigue con prácticas como la de confiar en un guía espiritual cualificado, hacer ofrendas, recitar oraciones, etc.

สิ่งเหล่านี้จะได้มาก็โดยการปฏิบัติ เช่นไว้ใจในผู้นำทางแห่งจิตวิญญาณที่ถูกคัดสรรแล้ว,ทำบุญตักบาตร, สวดมนต์,เป็นต้น.